วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560



ชื่อท้องถิ่น :ปลาซัคเกอร์
ชื่อสามัญ : Arowana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hypostomus plecostomus
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ

ปลาซัคเกอร์ จัดเป็น ปลา Catfish ในครอบครัว Loricariidae ซึ่ง มีจำนวนมากมายหลายชนิด บางชนิด ก็สวยงาม เกินบรรยาย บทความที่เพื่อนๆ จะได้อ่านต่อไปนี้ เป็น บทความที่เขียนโดย คุณ Haow นานมาแล้ว ในเวบบอร์ด ห้อง Exotic ผมเห็นว่า มีประโยชน์ เลยติดต่อ ขออนุญาต ไปยังผู้เขียน เพื่อ นำมาให้เพื่อนๆ ที่ สนใจ ในปลากลุ่มนี้ ไว้ อ้างอิง

ลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ


ปลาซัคเกอร์ที่พบในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ตามลำธารน้ำ ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา โดยปากจะมีลักษณะพิเศษสามารถดูดติดกับก้อนหินได้ เพื่อมิให้ไหลตามกระแสน้ำไป โดยธรรมชาติเป็นปลาที่ขี้อายจะอาศัยหลบอยู่ตามซอกหิน ใช้ปากดูดกินตะไคร่และสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่ลอยมาตามน้ำ บริเวณที่ปลาอาศัยอยู่น้ำจะใสสะอาดและมีอ๊อกซิเจนอยู่ในปริมาณสูง ดังนั้นเมื่อผู้เลี้ยงนำปลามาเลี้ยงควรที่จะจัดสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะ คล้ายกับ ธรรมชาติที่ปล าเคยอาศัยอยู่

การเลือกซื้อปลา


ปลาซัคเกอร์เป็น ปลาที่ไม่ค่อยจะเหมือนกับปลาทั่วๆ ไปนัก เอาแต่อยู่นิ่งๆ ซึมไม่สบายหรือเปล่าเราก็ดูไม่รู้ การเลือกซื้อผู้เลี้ยงหลายๆ ท่านแนะนำมาว่าให้ดูที่ท้องของปลาว่าสภาพเป็นอย่างไร การเลือกซื้อถ้าปลาเกาะอยู่ที่พี้นหรือตามขอนไม้ อย่าไปเกรงใจครับ เลือกเองเอาไม้ต้อนๆ ปลาให้มาเกาะที่กระจกเลยครับ ดูท้องซิว่าเป็นยังไงหากตัวไหนผอมจนท้องเว้า ก็รีบๆ ปล่อยเค้าไปเถอะครับ หากเอามาเสี่ยงต่อการไม่ยอมกินอาหารจนตายได้เลยครับ เจ้าพวกนี้หากตัวไหนไม่ยอมกินอาหารรักษายากครับ ดังนั้น จึงต้องเลือกตัวที่แน่ใจว่ายอมกินแล้วดูที่ท้องว่าอูมๆ พอสวยงาม อย่างนี้เอามาเลี้ยงค่อยอุ่นใจกว่าครับ บางร้าน เอาปลาที่ขายใส่ถุงไว้ก็ให้ดูเลยครับว่าในถุงมีขี้ปลา หรือเปล่าเพราะ ซัคเกอร์เวลา ตกใจมักจะขี้ออกมาครับแต่ยังไงก็ควร ที่จะดูที่ท้องประกอบด้วยก็ดีนะครับ ส่วนสีลายอันนี้จะขาดจะเกินยังไงก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนครับ

อาหาร


อาหารที่นิยมให้แก่ปลาซัคเกอร์กันได้แก่ อาหารสำเร็จรูป,ผักกระหล่ำ,ไส้เดือน อาหารสำเร็จรูปในตลาดตอนนี้ เท่าที่เคยใช้อาหารของปลาซัคเกอร์ Hikari ดูจะมีภาษีดีที่สุด เพราะปลาค่อนข้างกินง่ายสารอาหารครบเพียงพอ ข้อดี ของอาหาร ชนิดนี้คือ สะอาดปลาที่กินแต่อาหารสำเร็จรูปมักไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับท้อง ผิดกับอาหารประเภทไส้เดือน ที่ปลาบางตัวกินเข้าไปแล้วเกิดปัญหาท้องอืด ปลาซัคเกอร์ถ้าหากกินไส้เดือน แล้ว ท้องอืดโดยไม่รักษาเกิน 2-3 วันแล้วหละก็โอกาสตายสูงทีเดียวครับ อาการของปลาคือท้องจะใหญ่มากผิดปกติ ปลาจะหอบหายใจเร็ว เป็นหนักๆท้องจะโตจนใสเลยครับเป็นถึงขั้นนี้ก็เตรียม โลงไว้ได้เลยครับ การรักษาควรทำแต่เนิ่นๆโดยรีบใส่เกลือและเพิ่มอุณหภูมิ นอกจากนั้นต้องลุ้นเอาเองครับ (มีบทสวดไหนดีๆ ก็สวดร่วมด้วยก็ได้ครับสำหรับผมสวดทุกบทแล้วไม่รอดอะครับ) มีผู้รู้ท่านนึงบอกไว้เกี่ยวกับปัญหาของไส้เดือนว่าจริงๆแล้วปลา ซัคเกอร์สามารถ กิน ไส้เดือนได้ทุกตัว แต่สาเหตุที่ไส้เดือนทำให้ปลาตายก็เพราะของเสียในตัว ไส้เดือนสกปรกมาก พอปลากิน ไส้เดือนเข้าไปทำให้ป่วย

วิธีแก้ให้พักไส้เดือนไว้ก่อนให้ปลากิน 2-3 วันเพื่อให้ไส้เดือนขับของเสียออกมาเสียก่อน แล้วปัญหาท้องอืดก็จะไม่เกิด (แต่สำหรับผมขอบายครับเข็ดกับการเสียเจ้า Titanic ไป) ส่วนใบกระหล่ำก่อนนำมาให้ปลากินให้นำมาล้างน้ำให้สะอาดไร้สารพิษ เสียก่อน ที่จะให้ปลากิน โดยนำมาผุกหินถ่วงให้จมน้ำปลาก็จะค่อยๆมาแทะกิน ส่วนที่เหลือ หากเกิน 1 วันให้นำออกเพราะหากทิ้งไว้นานอาจทำให้น้ำเสียได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.ninekaow.com


ชื่อท้องถิ่น :ปลามังกร
ชื่อสามัญ : Arowana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ

ชื่อเรียกอื่นๆ

ปลาตะพัด (ภาษาภาคตะวันออก)
ปลาหางเข้ (ภาษาใต้)
ปลากรือซอ (ภาษามลายูปัตตานี)
ปลากลีซาอีมัส (ภาษามลายู)
ปลาอาร์วานาอาเซีย หรือ ซีลุก์เมระฮ์ (ภาษาอินโดนีเซีย)
ปลาอะโรวานา (Arowana -ภาษาอังกฤษ-ชื่อที่เรียกทั่วไป)
ปลาเล้งฮื้อ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว)

ลักษณะ

ลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงินอมเขียวหรือฟ้าเรียงเป็นระเบียบอย่างสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโต ปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณครีบหาง สันท้องคม มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ปลาตะพัดขนาดโตเต็มที่ได้ยาวได้ราว 90 เซนติเมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 7 กิโลกรัม พฤติกรรมมักจะว่ายบริเวณริมผิวน้ำ อาหารของปลาตะพัด ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนแมลง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารได้สูงถึง 1 เมตร

ถิ่นที่อยู่

อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีสภาพใสสะอาด มีนิสัยค่อนข้างดุ ก้าวร้าว ขี้ตกใจ มักอาศัยอยู่ลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ ถ้าอยู่เป็นฝูง ก็จะอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 3-5 ตัว พบได้ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, กัมพูชา และปลาในแต่ละแหล่งน้ำจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายกันออกไป เชื่อว่าเกิดเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่อยู่ เช่น สีทอง, สีแดง, สีเงิน, สีทองอ่อน , สีเขียวอ่อน เป็นต้น

การเลี้ยง

ปลาตะพัด หรือ ปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะเป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม มีเกล็ดขนาดใหญ่ และมีสีสันแวววาวมีหนวดซึ่งมีลักษณะคล้าย "มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปลาอะโรวาน่า โดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด


สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง

อะโรวาน่าเขียว (Green Arowana) เป็นปลาที่มีสีเงินขุ่นทั้งตัว อาจมีเหลือบสีฟ้าหรือเขียวอ่อน ปลายครีบหางเมื่อโตเต็มที่แล้วเป็นสีขาว ขณะยังเป็นลูกปลาครีบต่าง ๆ จะใส ขณะที่ตามลำตัวจะมีสีดำแซมอยู่ระหว่างเกล็ด พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทยและกัมพูชา รวมถึงบางส่วนในมาเลเซีย

อะโรวาน่าแดงอินโดนีเซีย (Super Red) เป็นปลาที่มีสีแดงสดทั้งตัว ทั้งครีบและหาง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ในแถบทะเลสาบขนาดเล็กในป่าบริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบเซนทารัม ซึ่งอยู่ทางตอนบนซึ่งต่อเชื่อมกับแม่น้ำคาปัวส์ ทางบอร์เนียวตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดค่อนข้างต่ำ (pH น้อยกว่า 5.5) จัดเป็นสายพันธุ์ที่มีราคาสูงรองลงมาจากอะโรวาน่าทองมลายู

ในตัวที่มีสีแดงตัดขอบเกล็ดคมชัดเจน เรียกว่า ชิลลี่ เรด (Chili Red) ตัวที่มีสีแดงทั้งตัว เรียกว่า บลัด เรด (Blood Red) หรือในบางตัวมีเหลือบสีม่วงในเกล็ด เรียกว่า ไวโอเล็ท ฟิวชั่น (Violet Fusion) ทั้งนี้สีปลาอ่อนหรือเข้มขึ้นอยู่กับตัวปลาเองและผู้เลี้ยง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน โดยพบในประเทศอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน แต่พบคนละแหล่งน้ำ คือ เรด บี (Red B) หรือ บันจา เรด (Banja Red) (แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกเรียกว่า เรด อะโรวาน่า ((Red Arowana)) ซึ่งเมื่อยังเล็กจะมีสีแดงสดเหมือนปลาอะโรวาน่าแดงอินโดนีเซียทั่วไป แต่เมื่อโตขึ้นสีจะซีดลง จนเกล็ดมีเพียงสีเงินเหลือบเหลืองอ่อน ๆ สีครีบและหางเป็นสีเหลืองปนส้มเท่านั้น แลดูคล้ายปลาทองอ่อน และเป็นปลาที่มีราคาต่ำกว่า

ปัจจุบัน ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) กับปลาอะโรวาน่าทองมลายู เป็นปลาลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ทั้ง 2 ที่มีสีทองแดง เรียกว่า เรด สเปลนเดอร์ (Red Splendor)

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาอะโรวาน่าแดงอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหาก โดยเรียกว่า Scleropages legendrei แต่ชื่อนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นสากลเท่าที่ควร

อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย (Red Tail Golden Arowana) เป็นปลาที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมาก หากเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่พบในเอเชียด้วยกัน อีกทั้งมีความสวยงามมีสีทองเข้ม ครีบอก กระโดงต่าง ๆ และหาง มีสีแดงสด ด้วยเหตุนี้ จึงมีชื่อเรียก ว่า Red Tail Golden (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า RTG) ครีบหลังและหางส่วนบนจะมีสีแดงคล้ำปนดำ บนหลังจะมีเกล็ดสีดำ เกล็ดสีทองจะมีขึ้นมาถึงเกล็ดแถวที่ 4 และอาจจะมีขึ้นประปรายบ้างบนแถวที่ 5 เรียกว่า ไฮแบ็ก (Hight Back) ปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) กับปลาอะโรวาน่าทองมลายูจนได้สายพันธุ์ปลาพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า ไฮแบ็ค มากขึ้น โดยเกล็ดเงางามขึ้น และเกล็ดเปิดถึงแถวที่ 5 ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้แล้วยังมีสายพันธุ์ที่สีอ่อนกว่า เมื่อเล็กมีลักษณะคล้ายปลาตะพัดหรือปลาอะโรวาน่าเขียวมาก โตขึ้นครีบมีสีใสและเกล็ดเป็นสีเงินปนเหลืองอ่อน ๆ เรียกว่า "ทองอ่อน" และตัวใดที่ครีบมีสีเหลืองเข้มขึ้นมาหน่อย ก็จะถูกเรียกว่า "ทองหางเหลือง" (Yellow Tail) เป็นต้น

เป็นปลาที่พบในประเทศอินโดนีเซีย บริเวณบอร์เนียวเหนือและเกาะสุมาตรา และส่วนของทางหางเหลืองก็อยู่ในแหล่งน้ำที่ต่างจากทองอินโดนีเซีย

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโรวาน่าทองอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหากว่า Scleropages aureu และในส่วนของทองหางเหลืองก็ได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แยกออกมาอีกว่า Scleropages macrocephalus ในปี ค.ศ. 2003[2]

อะโรวาน่าทองมลายู (Malayan Bonytongue, Cross Back) ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศมาเลเซีย แถบรัฐปะหัง เประก์ และมาเลเซียตะวันตก เป็นสายพันธุ์ของปลาอะโรวาน่าที่มีราคาแพงที่สุด โดยอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เนื่องจากเป็นปลาที่มีสีทองสดใสที่สุด เกล็ดมีความเงางามมาก เมื่อปลาโตเต็มวัยจะสีทองจะเปิดสูงข้ามบริเวณส่วนหลัง จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Cross Back

อีกทั้งในบางตัวยังมีฐานสีที่บริเวณเกล็ดเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงินเรียกว่า บลูเบส (Blue Base) ในบางตัวที่มีฐานเกล็ดเป็นสีเขียวเรียกว่า กรีนเบส (Green Base) ในขณะที่ตัวที่มีสีทองเหลืองอร่ามทั้งตัวโดยไม่มีสีอื่นปะปนจะเรียกว่า ฟูลโกลด์ (Full Gold)

อะโรวาน่าทองมลายู เมื่อเทียบกับปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์อื่น ๆ จะพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด อีกทั้งครีบและหางเล็กกว่า แต่มีสีสันที่สวยที่สุด

ไฮแบ็ค (Hight Back) เป็นปลาลูกผสมระหว่างทองอินโดนีเซียกับทองมลายู ทำให้ลูกปลาที่เกิดออกมามีส่วสนเด่นของทั้งสองสายพันธุ์ คือ มีเกล็ดที่แวววาวกว่าทองอินโดทั่วไปและสีทองของเกล็ดจะเปิดถึงแถวที่ 5 มากกว่าทองอินโดปกติ