วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560




กวักมหามงคล


เป็นสายพันธ์แยกออกมาจาก แก้วกาญจนา อีกทีนึง ซึ่งแก้วกาญจนา

ลักษณะทั่วไปกวักมหามงคล


ไม้ในสกุลเขียวหมื่นปีมีถิ่นกำเนิดกระจัดกระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย และแอฟริกา ตามป่าที่มีฝนตกชุก และมีความชื้นสูง คนไทยรู้จักต้นไม้ชนิดนี้ในชื่อของ ว่านขันหมาก มาก่อน ใช้ปลูกเป็นไม้กระถางในร่มหรือปลูกลงดินในแปลง ตามร่มต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้ที่ชอบความชุ่มชื่น ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง เป็นไม้ที่ลักษณะคล้ายไม้ในสกุลสาวน้อยประแป้ง แต่มีขนาดเล็ก และมีการเจริญเติบโตช้ากว่ามาก

เขียวหมื่นปีมีลักษณะลำต้นตั้งตรง ข้อถี่ แตกใบอ่อนตรงส่วนยอดของลำต้นทีละใบ แต่ก็มีเขียวหมื่นปีบางชนิดทอดลำต้นเลื้อยไปตามดินแตกรากได้ทุกข้อของลำต้น ก้านใบยาว ก้านใบส่วนที่ติดใบมีลักษณะกลม ส่วนที่เป็นกาบ ใบมีรูปคล้ายใบพาย แคบ ยาวเรียว บางชนิดมีใบป้อมคล้ายใบโพธิ์ ใบสีเขียวเข้มเป็นมันมากกว่าพวกสาวน้อยประแป้ง นอกจากนี้ใบยังอาจมีลายสีเทาเงินตลอดทั้งใบ และบางชนิดอาจมีลายสีแดงและจุดสีขาวบนใบบ้างก็มี ดอกของเขียวหมื่นปีเหมือนกับดอกไม้ในวงศ์บอนทั่วๆไป คือเป็นกาบหุ้มปลีเกสร ออกดอกเป็นกลุ่มสีเขียวอ่อน หรือสีขาวอมเขียว เมื่อตัดลำต้นออกจะมียางที่ทำให้คันได้ แต่ความรุนแรงไม่เท่ากับยางของสาวน้อยประแป้ง





สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

เขียวหมื่นปีเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนตามป่าที่มีฝนตกชุก จึงเป็นไม้ที่ต้องการความชื้นในอากาศสูง ชอบอยู่ในที่ร่ม หรือที่มีแดดรำไร สามารถเจริญงอกงามได้ดีในที่ที่มีแสงสว่างเล็กน้อย และยังทนต่ออากาศที่แห้งแล้งและความชื้นต่ำได้ดี ถึงแม้จะปลูกเลี้ยงในที่ที่มีแสงสว่างจากดวงไฟเพียง 10-15 แรงเทียนก็สามารถเจริญงอกงามอยู่ได้ ถ้าเขียวหมื่นปีได้รับแสงสว่างมากก้านใบจะยกชูตั้งขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าได้รับแสงสว่างน้อยก้านใบจะราบลู่ลงขนานกับพื้น
อุณหภูมิที่เขียวหมื่นปีสามารถเจริญงอกงามได้ดีอยู่ในระหว่าง 75-85 องศาฟาเรนไฮด์ แต่ถึงแม้อุณหภูมิในตอนกลางคืนจะลดลงไม่เกิน 10 องศาฟาเรนไฮด์ เขียวหมื่นปีสามารถปรับตัวอยู่ได้ นอกจากนี้เขียวหมื่นปียังสามารถปลูกเลี้ยงในน้ำบริสุทธิ์ได้ โดยล้างรากให้สะอาดแล้วนำไปปลูกในขวด หรือแจกันใส่น้ำยึดต้นให้แน่นด้วยการใช้สำลีอุดปากขวดหรือแจกัน หรือกรวดเม็ดเล็กๆ ใส่ทับลงไปก็ได้เปลี่ยนน้ำทุกๆ10-15วัน ถ้าเป็นน้ำประปาควรพักไว้สักสองคืนก่อน เพื่กให้คลอรีนระเหยออกค่อยนำมาปลูกเลี้ยง และการใส่ปุ๋ยน้ำก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง
การปลูกเขียวหมื่นปีเพื่อใช้เป็นไม้ประดับภายใน นิยมทั้งปลูกประดับเพียงต้นเดี่ยวๆ ในกระถางเล็กๆ หรือจะปลูกรวมเป็นกลุ่มใหญ่ๆก็สวยงามเช่นเดียวกัน แต่ต้องคอยระมัดระวังให้เครื่องปลูกชุ่มอยู่เสมอ หากจะปลูกประดับอยู่นอกอาคารเป็นที่ที่ร่มรำไร ไม่ควรตั้งไว้ในที่ที่มีแดดจัดๆ มากนัก



วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560



ชื่อท้องถิ่น :ปลาซัคเกอร์
ชื่อสามัญ : Arowana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hypostomus plecostomus
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ

ปลาซัคเกอร์ จัดเป็น ปลา Catfish ในครอบครัว Loricariidae ซึ่ง มีจำนวนมากมายหลายชนิด บางชนิด ก็สวยงาม เกินบรรยาย บทความที่เพื่อนๆ จะได้อ่านต่อไปนี้ เป็น บทความที่เขียนโดย คุณ Haow นานมาแล้ว ในเวบบอร์ด ห้อง Exotic ผมเห็นว่า มีประโยชน์ เลยติดต่อ ขออนุญาต ไปยังผู้เขียน เพื่อ นำมาให้เพื่อนๆ ที่ สนใจ ในปลากลุ่มนี้ ไว้ อ้างอิง

ลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ


ปลาซัคเกอร์ที่พบในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ตามลำธารน้ำ ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา โดยปากจะมีลักษณะพิเศษสามารถดูดติดกับก้อนหินได้ เพื่อมิให้ไหลตามกระแสน้ำไป โดยธรรมชาติเป็นปลาที่ขี้อายจะอาศัยหลบอยู่ตามซอกหิน ใช้ปากดูดกินตะไคร่และสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่ลอยมาตามน้ำ บริเวณที่ปลาอาศัยอยู่น้ำจะใสสะอาดและมีอ๊อกซิเจนอยู่ในปริมาณสูง ดังนั้นเมื่อผู้เลี้ยงนำปลามาเลี้ยงควรที่จะจัดสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะ คล้ายกับ ธรรมชาติที่ปล าเคยอาศัยอยู่

การเลือกซื้อปลา


ปลาซัคเกอร์เป็น ปลาที่ไม่ค่อยจะเหมือนกับปลาทั่วๆ ไปนัก เอาแต่อยู่นิ่งๆ ซึมไม่สบายหรือเปล่าเราก็ดูไม่รู้ การเลือกซื้อผู้เลี้ยงหลายๆ ท่านแนะนำมาว่าให้ดูที่ท้องของปลาว่าสภาพเป็นอย่างไร การเลือกซื้อถ้าปลาเกาะอยู่ที่พี้นหรือตามขอนไม้ อย่าไปเกรงใจครับ เลือกเองเอาไม้ต้อนๆ ปลาให้มาเกาะที่กระจกเลยครับ ดูท้องซิว่าเป็นยังไงหากตัวไหนผอมจนท้องเว้า ก็รีบๆ ปล่อยเค้าไปเถอะครับ หากเอามาเสี่ยงต่อการไม่ยอมกินอาหารจนตายได้เลยครับ เจ้าพวกนี้หากตัวไหนไม่ยอมกินอาหารรักษายากครับ ดังนั้น จึงต้องเลือกตัวที่แน่ใจว่ายอมกินแล้วดูที่ท้องว่าอูมๆ พอสวยงาม อย่างนี้เอามาเลี้ยงค่อยอุ่นใจกว่าครับ บางร้าน เอาปลาที่ขายใส่ถุงไว้ก็ให้ดูเลยครับว่าในถุงมีขี้ปลา หรือเปล่าเพราะ ซัคเกอร์เวลา ตกใจมักจะขี้ออกมาครับแต่ยังไงก็ควร ที่จะดูที่ท้องประกอบด้วยก็ดีนะครับ ส่วนสีลายอันนี้จะขาดจะเกินยังไงก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนครับ

อาหาร


อาหารที่นิยมให้แก่ปลาซัคเกอร์กันได้แก่ อาหารสำเร็จรูป,ผักกระหล่ำ,ไส้เดือน อาหารสำเร็จรูปในตลาดตอนนี้ เท่าที่เคยใช้อาหารของปลาซัคเกอร์ Hikari ดูจะมีภาษีดีที่สุด เพราะปลาค่อนข้างกินง่ายสารอาหารครบเพียงพอ ข้อดี ของอาหาร ชนิดนี้คือ สะอาดปลาที่กินแต่อาหารสำเร็จรูปมักไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับท้อง ผิดกับอาหารประเภทไส้เดือน ที่ปลาบางตัวกินเข้าไปแล้วเกิดปัญหาท้องอืด ปลาซัคเกอร์ถ้าหากกินไส้เดือน แล้ว ท้องอืดโดยไม่รักษาเกิน 2-3 วันแล้วหละก็โอกาสตายสูงทีเดียวครับ อาการของปลาคือท้องจะใหญ่มากผิดปกติ ปลาจะหอบหายใจเร็ว เป็นหนักๆท้องจะโตจนใสเลยครับเป็นถึงขั้นนี้ก็เตรียม โลงไว้ได้เลยครับ การรักษาควรทำแต่เนิ่นๆโดยรีบใส่เกลือและเพิ่มอุณหภูมิ นอกจากนั้นต้องลุ้นเอาเองครับ (มีบทสวดไหนดีๆ ก็สวดร่วมด้วยก็ได้ครับสำหรับผมสวดทุกบทแล้วไม่รอดอะครับ) มีผู้รู้ท่านนึงบอกไว้เกี่ยวกับปัญหาของไส้เดือนว่าจริงๆแล้วปลา ซัคเกอร์สามารถ กิน ไส้เดือนได้ทุกตัว แต่สาเหตุที่ไส้เดือนทำให้ปลาตายก็เพราะของเสียในตัว ไส้เดือนสกปรกมาก พอปลากิน ไส้เดือนเข้าไปทำให้ป่วย

วิธีแก้ให้พักไส้เดือนไว้ก่อนให้ปลากิน 2-3 วันเพื่อให้ไส้เดือนขับของเสียออกมาเสียก่อน แล้วปัญหาท้องอืดก็จะไม่เกิด (แต่สำหรับผมขอบายครับเข็ดกับการเสียเจ้า Titanic ไป) ส่วนใบกระหล่ำก่อนนำมาให้ปลากินให้นำมาล้างน้ำให้สะอาดไร้สารพิษ เสียก่อน ที่จะให้ปลากิน โดยนำมาผุกหินถ่วงให้จมน้ำปลาก็จะค่อยๆมาแทะกิน ส่วนที่เหลือ หากเกิน 1 วันให้นำออกเพราะหากทิ้งไว้นานอาจทำให้น้ำเสียได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.ninekaow.com


ชื่อท้องถิ่น :ปลามังกร
ชื่อสามัญ : Arowana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ

ชื่อเรียกอื่นๆ

ปลาตะพัด (ภาษาภาคตะวันออก)
ปลาหางเข้ (ภาษาใต้)
ปลากรือซอ (ภาษามลายูปัตตานี)
ปลากลีซาอีมัส (ภาษามลายู)
ปลาอาร์วานาอาเซีย หรือ ซีลุก์เมระฮ์ (ภาษาอินโดนีเซีย)
ปลาอะโรวานา (Arowana -ภาษาอังกฤษ-ชื่อที่เรียกทั่วไป)
ปลาเล้งฮื้อ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว)

ลักษณะ

ลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงินอมเขียวหรือฟ้าเรียงเป็นระเบียบอย่างสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโต ปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณครีบหาง สันท้องคม มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ปลาตะพัดขนาดโตเต็มที่ได้ยาวได้ราว 90 เซนติเมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 7 กิโลกรัม พฤติกรรมมักจะว่ายบริเวณริมผิวน้ำ อาหารของปลาตะพัด ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนแมลง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารได้สูงถึง 1 เมตร

ถิ่นที่อยู่

อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีสภาพใสสะอาด มีนิสัยค่อนข้างดุ ก้าวร้าว ขี้ตกใจ มักอาศัยอยู่ลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ ถ้าอยู่เป็นฝูง ก็จะอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 3-5 ตัว พบได้ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, กัมพูชา และปลาในแต่ละแหล่งน้ำจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายกันออกไป เชื่อว่าเกิดเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่อยู่ เช่น สีทอง, สีแดง, สีเงิน, สีทองอ่อน , สีเขียวอ่อน เป็นต้น

การเลี้ยง

ปลาตะพัด หรือ ปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะเป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม มีเกล็ดขนาดใหญ่ และมีสีสันแวววาวมีหนวดซึ่งมีลักษณะคล้าย "มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปลาอะโรวาน่า โดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด


สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง

อะโรวาน่าเขียว (Green Arowana) เป็นปลาที่มีสีเงินขุ่นทั้งตัว อาจมีเหลือบสีฟ้าหรือเขียวอ่อน ปลายครีบหางเมื่อโตเต็มที่แล้วเป็นสีขาว ขณะยังเป็นลูกปลาครีบต่าง ๆ จะใส ขณะที่ตามลำตัวจะมีสีดำแซมอยู่ระหว่างเกล็ด พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทยและกัมพูชา รวมถึงบางส่วนในมาเลเซีย

อะโรวาน่าแดงอินโดนีเซีย (Super Red) เป็นปลาที่มีสีแดงสดทั้งตัว ทั้งครีบและหาง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ในแถบทะเลสาบขนาดเล็กในป่าบริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบเซนทารัม ซึ่งอยู่ทางตอนบนซึ่งต่อเชื่อมกับแม่น้ำคาปัวส์ ทางบอร์เนียวตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดค่อนข้างต่ำ (pH น้อยกว่า 5.5) จัดเป็นสายพันธุ์ที่มีราคาสูงรองลงมาจากอะโรวาน่าทองมลายู

ในตัวที่มีสีแดงตัดขอบเกล็ดคมชัดเจน เรียกว่า ชิลลี่ เรด (Chili Red) ตัวที่มีสีแดงทั้งตัว เรียกว่า บลัด เรด (Blood Red) หรือในบางตัวมีเหลือบสีม่วงในเกล็ด เรียกว่า ไวโอเล็ท ฟิวชั่น (Violet Fusion) ทั้งนี้สีปลาอ่อนหรือเข้มขึ้นอยู่กับตัวปลาเองและผู้เลี้ยง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน โดยพบในประเทศอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน แต่พบคนละแหล่งน้ำ คือ เรด บี (Red B) หรือ บันจา เรด (Banja Red) (แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกเรียกว่า เรด อะโรวาน่า ((Red Arowana)) ซึ่งเมื่อยังเล็กจะมีสีแดงสดเหมือนปลาอะโรวาน่าแดงอินโดนีเซียทั่วไป แต่เมื่อโตขึ้นสีจะซีดลง จนเกล็ดมีเพียงสีเงินเหลือบเหลืองอ่อน ๆ สีครีบและหางเป็นสีเหลืองปนส้มเท่านั้น แลดูคล้ายปลาทองอ่อน และเป็นปลาที่มีราคาต่ำกว่า

ปัจจุบัน ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) กับปลาอะโรวาน่าทองมลายู เป็นปลาลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ทั้ง 2 ที่มีสีทองแดง เรียกว่า เรด สเปลนเดอร์ (Red Splendor)

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาอะโรวาน่าแดงอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหาก โดยเรียกว่า Scleropages legendrei แต่ชื่อนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นสากลเท่าที่ควร

อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย (Red Tail Golden Arowana) เป็นปลาที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมาก หากเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่พบในเอเชียด้วยกัน อีกทั้งมีความสวยงามมีสีทองเข้ม ครีบอก กระโดงต่าง ๆ และหาง มีสีแดงสด ด้วยเหตุนี้ จึงมีชื่อเรียก ว่า Red Tail Golden (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า RTG) ครีบหลังและหางส่วนบนจะมีสีแดงคล้ำปนดำ บนหลังจะมีเกล็ดสีดำ เกล็ดสีทองจะมีขึ้นมาถึงเกล็ดแถวที่ 4 และอาจจะมีขึ้นประปรายบ้างบนแถวที่ 5 เรียกว่า ไฮแบ็ก (Hight Back) ปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) กับปลาอะโรวาน่าทองมลายูจนได้สายพันธุ์ปลาพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า ไฮแบ็ค มากขึ้น โดยเกล็ดเงางามขึ้น และเกล็ดเปิดถึงแถวที่ 5 ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้แล้วยังมีสายพันธุ์ที่สีอ่อนกว่า เมื่อเล็กมีลักษณะคล้ายปลาตะพัดหรือปลาอะโรวาน่าเขียวมาก โตขึ้นครีบมีสีใสและเกล็ดเป็นสีเงินปนเหลืองอ่อน ๆ เรียกว่า "ทองอ่อน" และตัวใดที่ครีบมีสีเหลืองเข้มขึ้นมาหน่อย ก็จะถูกเรียกว่า "ทองหางเหลือง" (Yellow Tail) เป็นต้น

เป็นปลาที่พบในประเทศอินโดนีเซีย บริเวณบอร์เนียวเหนือและเกาะสุมาตรา และส่วนของทางหางเหลืองก็อยู่ในแหล่งน้ำที่ต่างจากทองอินโดนีเซีย

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโรวาน่าทองอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหากว่า Scleropages aureu และในส่วนของทองหางเหลืองก็ได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แยกออกมาอีกว่า Scleropages macrocephalus ในปี ค.ศ. 2003[2]

อะโรวาน่าทองมลายู (Malayan Bonytongue, Cross Back) ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศมาเลเซีย แถบรัฐปะหัง เประก์ และมาเลเซียตะวันตก เป็นสายพันธุ์ของปลาอะโรวาน่าที่มีราคาแพงที่สุด โดยอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เนื่องจากเป็นปลาที่มีสีทองสดใสที่สุด เกล็ดมีความเงางามมาก เมื่อปลาโตเต็มวัยจะสีทองจะเปิดสูงข้ามบริเวณส่วนหลัง จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Cross Back

อีกทั้งในบางตัวยังมีฐานสีที่บริเวณเกล็ดเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงินเรียกว่า บลูเบส (Blue Base) ในบางตัวที่มีฐานเกล็ดเป็นสีเขียวเรียกว่า กรีนเบส (Green Base) ในขณะที่ตัวที่มีสีทองเหลืองอร่ามทั้งตัวโดยไม่มีสีอื่นปะปนจะเรียกว่า ฟูลโกลด์ (Full Gold)

อะโรวาน่าทองมลายู เมื่อเทียบกับปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์อื่น ๆ จะพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด อีกทั้งครีบและหางเล็กกว่า แต่มีสีสันที่สวยที่สุด

ไฮแบ็ค (Hight Back) เป็นปลาลูกผสมระหว่างทองอินโดนีเซียกับทองมลายู ทำให้ลูกปลาที่เกิดออกมามีส่วสนเด่นของทั้งสองสายพันธุ์ คือ มีเกล็ดที่แวววาวกว่าทองอินโดทั่วไปและสีทองของเกล็ดจะเปิดถึงแถวที่ 5 มากกว่าทองอินโดปกติ

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560


ชื่อท้องถิ่น :ปลานิล
ชื่อสามัญ : Nile tilapia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oreochromis , Oreochromis niloticus
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ

ลักษณะสัตว์:
เป็นปลาที่สามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย ปลานิลนำเข้าสู่ประเทศไทย ครั้งแรก โดยสมเด็จพระจักรพรรดิ อะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศ
ญี่ปุ่น ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   เมื่อวันที่   25  มีนาคม
พ.ศ. 2508 ต่อมาจึงพระราชทานชื่อว่า “ปลานิล” โดยมีชื่อมาจากแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็น
 ถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม มีรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ แตกต่างกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสี
 ขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง    ครีบก้น และลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวาง
   ลำตัวมีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร

ปริมาณที่พบ: น้อย
การใช้ประโยชน์: เป็นอาหาร
อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์: นำมาเลี้ยงเพื่อประกอบอาชีพ   และ นำมารับประทาน
แหล่งที่พบ: ทั่วไป

ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม: มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย นิยมเลี้ยงเพื่อการเกษตรกันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเซีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2508 เป็นจำนวนทั้งหมดจำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view2.aspx?id=8673

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

คราฟจักรพรรดิ์/บัตเตอร์ฟายล์-กอย




เนื่องจากผู้จัดทำไม่สามารถหาข้อมูลของพันธุ์ปลาคราฟจักรพรรดิ์ ได้เนื่องจากพันธุ์ปลาได้มาจากการเพาะเลี้ยงในประเทศและหาข้อมูลยาก ทางผู้จัดทำจึงหาพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับพันปลา คราฟจักรพรรดิ์ให้มากที่สุด คือพันธุ์ batterfly koi 

ปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ (Crap) เป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงปลาสวยงามมานาน เนื่องจาก เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม เชื่อง และเลี้ยงง่าย เป็นที่ต้องการของผู้เลี้ยงปลาสวยงามในทุกกลุ่มทั้งใน และต่างประเทศ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyprinus carpio Linn.
ชื่อสามัญ : Butterfly Koi
ชื่อท้องถิ่น : ปลาคราฟ , ปลาคราฟจักพรรดิ์


บัตเตอร์ฟายล์-กอย (Butterfly Koi) คือปลาแฟนซีคาร์พที่มีครีบ และหางยาวคล้ายผีเลื้อขณะว่ายน้ำ มีชื่อเรียกดังนี้ คือ

บัตเตอร์ฟายล์-โคฮากุ (Butterfly Kohaku) คือปลาแฟนซีคาร์สายพันธุ์ โคฮากุ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเลื้อ

บัตเตอร์ฟายล์-ไทโช-ซันโชกุ (Butterfly-Taisho-Sanshoku) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ไทโช-ซันโชกุ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเลื้อ

บัตเตอร์ฟายล์-โชวา-ซันโชกุ (Butterfly- Showa-Sanshoku) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ โชวา-ซันโชกุ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเลื้อ

บัตเตอร์ฟายล์-ชิโร่-เบคโกะ (Butterfly Shiro Bekko) คือ ปลาแฟนซีคาร์พ สายพันธุ์ ชิโร่-เบคโกะ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเลื้อ

บัตเตอร์ฟายล์-ชิโร่-อุจึริ (Butterfly Shiro Utsuri) คือ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ชิโร่-อุจึริ ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเสื้อ

บัตเตอร์ฟายล์-ฮิการิโมโน (Butterfly Hikari-moyomono) คือ ปลาแฟนซีคาร์พ

สายพันธุ์ ฮิการิ-โมโยโมโน ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเสื้อ สายพันธุ์ ฮิการิ-โมโยโมโน ที่มีครีบและหางยาวคล้ายผีเสื้อ


ประวัติปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟในไทย
ปลาคราฟ เป็นปลาน้ำจืดที่จัดอยู่ในกลุ่มปลาตะเพียน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอีหร่าน สำหรับประเทศไทยมีการนำเข้ามาเลี้ยงครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2493 ซึ่งช่วงนั้นยังนิยมเลี้ยงในกลุ่มผู้มีฐานะดีเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ทรงได้สั่งปลาคราฟจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเลี้ยง พร้อมกับเรียกชื่อปลาคราฟอีกชื่อว่า ปลาอมรินทร์ แต่ชื่อสามัญที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษ คือ Crap อ่านไทยว่า คราฟ หรือ คาร์ฟ ซึ่งนิยมเรียกต่อมาตามสากล และเรียกมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนประเทศญี่ปุ่นเรียกปลาคราฟว่า Nishikigoi ที่มาจากคำว่า Nishiki ที่หมายถึง ผ้าไหมทอจากอิเดียที่มีสีสันสวยงาม มีหลากสี และมีราคาแพง ชาวญี่ปุ่นจึ้งตั้งชื่อตามลักษณะของผ้าที่คล้ายกับสีของปลาคราฟที่สวยงาม หายาก และมีราคาแพง

ลักษณะทั่วไปปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
ปลาคราฟ มีลักษณะลำตัวแบน และค่อนข้างกลม หัวไม่มีเกร็ด ริมฝีปากบางเรียบ ภายในปากไม่มีฟัน แต่จะมีฟันที่ลำคอ 1-3 แถว แต่ละแถวมีฟันไม่เกิน 8 ซี่ ลำตัวมีครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง และครีบหาง บางชนิดไม่มีเกล็ด บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดมีเกล็ดขนาดใหญ่ในบางส่วน เช่น ปลาคราฟญี่ปุ่นมีเกล็ดทั้งลำตัว ส่วนปลาคราฟเยอรมันมีเกล็ดขนาดใหญ่เฉพาะแถบบนเส้นข้างลำตัว

ปลาคราฟ เป็นปลาที่ไม่จัดอยู่กลุ่มปลากินพืชหรือปลากินเนื้อ เพราะโดยธรรมชาติจะกินพืชหรือสาหร่ายที่มีตัวอ่อนสัตว์น้ำเข้าไปด้วย รวมถึงสามารถกินได้ทั้งแพลงตอนพืช และสัตว์ และหอยได้ด้วย

อาหาร และการหาอาหาร
ปลาคราฟ เป็นปลาที่กินทั้งพืช และสัตว์ ในการเลี้ยงอาจให้ขนมปัง ข้าวสุก ลูกปลา หรือกุ้งขนาดเล็กก็ได้ รวมถึงอาหารปลาดุกก็เป็นอาหารที่ปลาคราฟชอบเช่นกัน นิสัยการหาอาหารของปลาคราฟ มักออกหาอาหารทั้งในระดับผิวน้ำ กลางน้ำ และท้องน้ำ มักใช้ปากคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามริมขอบฝั่งหรือหน้าดินตามขอบฝั่ง เป็นปลาที่ไม่ชอบอุณหภูมิร้อนหรือเย็นมากเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเติบโตที่ 20-22 องศาเซียลเซียส สภาพน้ำสะอาด น้ำมีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเพียงเล็กน้อย ระหว่าง 7.0-7.5 หากน้ำเป็นกรดจะทำให้สีของปลาคราฟซีด ไม่สดใส

พันธุ์ปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
พันธุ์ปลาคราฟ ที่เลี้ยงกันมากในเมืองไทย ได้รับการนำเข้ามาเลี้ยงจากประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยอดีต จนถึงปัจจุบันก็ยังนิยมเลี้ยงกันมาก ดังนั้น พันธุ์ปลาคราฟส่วนใหญ่จึงเป็นพันธุ์ที่ได้รับการตั้งชื่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่
1. โคฮากุ (Kohoku)
2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke)
3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku)
4. อุจิริ โมโน (Utsuri Mono)
5. เบคโกะ (Bekko)
6. อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui)
7. โกโรโมะ (Koromo)
8. โอกอน (Ogon)
9. ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo)
10.ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri)
11. คินกินริน (Kinginrin)
12. ตันโจ (Tancho)
13. คาวาริ โมโน (Kawari Mono)

ลักษณะปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ ที่ดี
ปลาคราฟที่ดี และเป็นที่ต้องการของตลาดจะต้องมีลักษณะของหัวที่สมบูรณ์ ลำตัวไม่สั้นเกินไป ลำตัวต้องกลมเป็นรูปกระสวย ลักษณะครีบสวยงาม ไม่มีส่วนฉีกขาด ส่วนหางใหญ่ และแข็งแรง มีท่วงท่าการว่ายน้ำสวยงาม และที่สำคัญอีกประการ คือ จะต้องมีสีสันเข้ม สวยงาม มีความคมชัด สดใส และมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ หายาก ทั้งนี้ ปลาคราฟที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์หรือเป็นโรคจะมีลักษณะเชื่องซึม มีสีซีดจาง ปลาประเภทนี้ไม่ควรนำมาเลี้ยง และควรกำจัดออกจากบ่อทันที

สีของปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
สีของปลาคราฟ เป็นสารสีที่มาจากสารแคโรทีนอยด์ ซึ่งปลาคาร์ฟไม่สามารถสังเคราะห์สารเหล่านี้ได้เอง แต่สารแคโรทีนอยด์ที่ทำให้เกิดสีในตัวปลาคราฟจะมาจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน ซึ่งสีจากสารแคโรทีนอยด์จะให้สีเหลือง ส้ม และแดง โดยสีแดงในปลาคราฟเกิดจากสารแคโรทีนอยด์ชนิด astaxanthin ซึ่งปลาคราฟสามารถสะสม และเปลี่ยนสารสีเหล่านี้ให้อยู่ในร่างกายได้

ปลาคราฟ1

การศึกษาระดับแคโรทีนอยด์ที่มีต่อความเข้มสีของปลาคราฟด้วยการให้อาหาร 6 ชนิด ที่มีปริมาณแคโรทีนอยด์ใน 6 ความเข้มข้น ตั้งแต่ 4.09-103.9 ไมโครกรัม/กรัม ตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ปลาคาร์ฟที่ได้รับแคโรทีนอยด์ที่ระดับ 96.2 และ103.9 ไมโครกรัม/กรัม มีความเข้มของสีแดงเพิ่มสูงขึ้น แต่หากหยุดให้อาหารแก่ปลาคราฟนาน 4 สัปดาห์ กลับพบว่า กลุ่มปลาคราฟที่มีความเข้มสีเพิ่มขึ้นจากการได้รับอาหารในระดับ 96.2 และ103.9 ไมโครกรัม/กรัม ยังคงรักษาระดับความเข้มของสีแดงได้เหมือนเดิมได้ ดังนั้น ปริมาณแคโรทีนอยด์ในอาหารที่เหมาะสมเพื่อให้สีของปลาคราฟเข้มขึ้น และความเข้มสีคงที่ ควรมีปริมาณแคโรทีนอยด์อย่างน้อย 96.2 ไมโครกรัม/กรัม (อรพินท์ และคณะ, 2548)(1)

ดังนั้น การเลี้ยงปลาคราฟเพื่อให้มีความเข้มสีที่สวยงาม ต้องควรคำนึงถึงความเข้มข้นของแคโรทีนอยด์ในอาหาร

นอกเหนือจากการให้แคโรทีนอยด์ในอาหารเพื่อเพิ่มสีสันให้แก่ปลาแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่ทำได้ คือ การเติมสารสกัดที่มีแคโรทีนอยด์ลงในน้ำตู้ปลาหรือในบ่อเลี้ยง ซึ่งสารสกัดที่มีแคโรทีนอยด์สูงสามารถหาได้จากพืชที่มีสีเหลืองหรือสีแดง อาทิ ใบหูกวาง เป็นต้น

การอนุบาลปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
1. ลูกปลาคราฟหลังฟักออกจากไข่จนถึง 2 อาทิตย์ จะให้อาหารประเภทไข่บด ร่วมกับไรแดง ซึ่งจะให้ประมาณวันที่ 3-5 หลังฟักเป็นตัวแล้ว
2. ลูกปลาคราฟ 15-30 วัน เปลี่ยนมาให้ไรแดง ร่วมกับปลาบดผสมกับรำละเอียด
3. ลูกปลาคราฟ 30-60 วัน เปลี่ยนมาให้ปลาบดผสมกับรำละเอียด และอาหารสำเร็จรูปเสริม
4. ลูกปลาคราฟ อายุประมาณ 2-3 เดือน ที่มีสีเหลืองทั้งตัว ให้เลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสม ดังนี้
– ปลาป่น 20%
– กากถั่วเหลือง 30%
– รำละเอียด 35%
– ปลายข้าว 15%

นอกจากนั้น สามารถให้อาหารสำเร็จรูปได้ ทั้งอาหารปลาดุก และอาหารปลานิลหรือปลาทับทิม

การเลี้ยงปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
การเลี้ยงปลาคราฟที่พบเห็นนิยมมากในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การเลี้ยงในตู้ปลา
การเลี้ยงปลาคราฟในตู้ปลามักไม่นิยมนัก เพราะปลาคราฟเป็นปลาสวยงามขนาดใหญ่ และชอบว่ายน้ำคุ้ยเขี่ยหาอาหารเก่ง แต่หากเลี้ยง ควรเลี้ยงไม่เกิน 2 ตัว และเพิ่มจำนวนตามขนาดของตู้ปลา ส่วนน้ำที่ใช้เลี้ยง อาจเป็นน้ำประปาหรือน้ำฝนก็ได้ แต่หากเป็นน้ำฝนในชุมชนเมืองควรหลีกเลี่ยง เพราะน้ำฝนมักเป็นกรดมาก

สำหรับตู้ปลาควรมีเครื่องเติมอากาศตลอดเวลา รวมถึงเครื่องกรองน้ำด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ตู้ปลาอาจตกแต่งด้วยกรวดหิน และสาหร่ายขนาดเล็ก แต่ไม่ควรเป็นสาหร่ายขนาดใหญ่ เพราะมักเสียหายจาการว่ายหรือการกัดกินของปลาคราฟได้ง่าย

2. การเลี้ยงในบ่อจัดสวน
การเลี้ยงในบ่อจัดสวน หรือ บ่อดาดคอนกรีต ถือเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาคราฟที่นิยมมาก เพราะสามารถปล่อยปลาคราฟได้จำนวนมาก ปลาคราฟมีพื้นที่ว่ายน้ำได้กว้าง ไม่ต้องใช้เครื่องเติมอากาศ และสามารถรองรับขนาดปลาคราฟที่เติบโตจนมีขนาดใหญ่ในอนาคตได้

บ่อเลี้ยงปลาคราฟอาจเป็นขอบดิ่งหรือขอบลาดเอียง ขนาดบ่อควรลึกในช่วง 40-70 เซนติเมตร เพราะตื้นมากจะทำให้น้ำร้อนจากแดดส่อง หากลึกมากจะทำให้มองไม่เห็นตัวปลา และน้ำด้านล่างเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว แต่อาจทำบางจุดให้ลึกได้ โดยเฉพาะจุดรวมน้ำเพื่อทำการเปลี่ยนน้ำหรือถ่ายเทน้ำ นอกจากนั้น พื้นบ่อปลาหรือขอบบ่อปลาควรเติมกรวดทรายลงเล็กน้อย เพื่อให้ปลาคราฟคุ้ยเขี่ยอาหารตามสภาพธรรมชาติ ทั้งนี้ จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 1 เดือน หรือ 2 เดือน/ครั้ง

การตกแต่งบ่อเลี้ยง ควรใช้หินกองเป็นถ้ำเพื่อให้มีร่มเงาในน้ำ หรืออาจปลูกไม้น้ำในกระถางลงในบ่อก็ได้ แต่ไม่ควรมีต้นไม้ใหญ่คลุมบ่อข้างบ่อ เพราะจะมีใบไม้ร่วงลงบ่อทำให้คุณภาพน้ำแย่ลงได้ รวมถึงระบบน้ำพรุ ระบบหมุนเวียนน้ำ หรือระบบกรองน้ำร่วมด้วยยิ่งดี นอกจากนั้น อาจออกแบบบ่อให้มีทางข้ามเพื่อเดินชม และเป็นที่บังแดดให้แก่ปลาได้

ทั้งนี้ ปลาคราฟรุ่นที่ใช้เลี้ยงควรมีอายุตั้งแต่ 6-8 เดือน ขึ้นไป หรือขนาดลำตัวยาวมากกว่า 15 เซนติเมตร ขึ้นไป


การให้อาหาร
อาหารปลาคราฟรุ่นที่เลี้ยงตามบ่อหรือตู้ปลา ปัจจุบัน นิยมใช้อาหารสำเร็จรูปประเภทลอยน้ำ ซึ่งใช้ได้ทั้งอาหารปลากินเนื้

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.pasusat.com/ปลาคราฟ/

ปลาหางไหม้ (ฉลามหางไหม้)



ชื่อไทย : หางไหม้ หางเหยี่ยว หนามหลังหางดำ ฉลามหางไหม้
ชื่อสามัญ : Silver shark , Bala shark , Tricolor shark
              Burnt-tailed barb, Siamese bala-shark
ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantiocheilos melanopterus


อุปนิสัย : รักสงบ ขี้ตื่นตกใจง่าย ปกติอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ว่ายน้ำรวดเร็วมาก ว่ายน้ำเกือบตลาดเวลา
ถิ่นอาศัย : เคยพบในเขตภาคกลาง ในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในปัจจุบันเข้าใจว่าสุญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว นอกจากนี้ยังพบในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียเเละเขมร ขนาดราว 25 ซ.ม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุด ยาว 35 ซ.ม.
อาหาร : กินได้ทั้งอาหารสดและสำเร็จรูป

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปลาสายน้ำผึ้ง




ขอชี้แจงพันธุ์ปลานะครับ
ปลาสายน้ำผึ้ง ชื่อไทยมีหลายชื่อ เรียกตามถิ่นอาศัย ที่พบ อันได้แก่ ปลาอีดู ปลาอีดูด ปลาปากใต้ ปลามุด ปลายาลู ปลาผึ้ง ปลาสร้อยน้ำผึ้ง ปลาลูกผึ้ง หรือที่รู้จักกันมากในชื่อปลาน้ำผึ้ง แต่ในตลาดปลาสวยงามบ้านเรามักจะเรียกชื่อผิดเป็นปลาสายน้ำผึ้งครับ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gyrinocheilus aymonieri
ชื่อสามัญ :  Siamese gyrinocheilus Siamese Algae Eater , Honey Sucker , Chinese algae eater , Sucking loach
ชื่อท้องถิ่น : ปลาสายน้ำผึ้ง ปลาอีดู ปลาอีดูด ปลาปากใต้ ปลามุด ปลายาลู ปลาผึ้ง ปลาสร้อยน้ำผึ้ง ปลาลูกผึ้ง ปลาน้ำผึ้ง


เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ในวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilidae) มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก มีสีพื้นลำตัวสีน้ำตาลเขียวมีลายแถบสีคล้ำพาดยาวตามลำตัวและมีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่ว ตัวผู้เมื่อเจริญวัยขึ้นจะมีปุ่มคล้ายเม็ดสิวขึ้นตามหน้าและริมฝีปากบน มีลักษณะสำคัญ คือมีช่องเล็ก อยู่ด้านบนสุดของช่องเหงือก ริมฝีปาก มีลักษณะเป็นแผ่นดูดรูปกลมใช้ดูดกินตะไคร่น้ำตามพื้นหิน และ ทราย แล้วหายใจโดยใช้น้ำผ่านเข้าช่องเปิดด้านบนฝาปิดเหงือก แล้วออกมาทางด้านข้าง แทนที่จะใช้ปากสูบน้ำเข้าอย่างปลาทั่ว ไป
หากินอยู่ตามท้องน้ำ พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ทั้งแหล่งน้ำหลากและที่ราบลุ่ม ขนาดความยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร กินอาหารจำพวกตะไคร่น้ำ, ซากพืช, ซากสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป พบตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศจีน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคและพบไปจนถึงมาเลเซีย

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง ในอดีตขึ้นชื่อมากในแง่ของการนำไปทำเป็นน้ำปลาที่มีรสชาติดี เป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดราชบุรีในชื่อ "น้ำปลาปลาสร้อยน้ำผึ้ง" และใช้เนื้อบริโภคอีกด้วย นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้ เพื่อใช้ทำความสะอาดตู้ด้วยการกินเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำ ปัจจุบัน นิยมเพาะพันธุ์เป็นปลาเผือกหรือปลาที่มีร่างกายสั้นกว่าปกติอีกด้วย รวมถึงยังนำไปในกิจการฟิชสปาหรือสปาปลาแทนที่ปลาเลียหินได้อีกด้วย
ปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ และการเลี้ยงปลาคราฟ



ปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ (Crap) เป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงปลาสวยงามมานาน เนื่องจาก เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม เชื่อง และเลี้ยงง่าย เป็นที่ต้องการของผู้เลี้ยงปลาสวยงามในทุกกลุ่มทั้งใน และต่างประเทศ


ปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ เป็นปลาสวยงามที่มีราคาสูง มีราคาซื้อขายกันตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหลายแสนบาท ทำให้เกิดความนิยมในการเลี้ยง เพื่อการจำหน่ายลูกปลา และเพาะพันธุ์ให้มีสีสันสวยงามเพื่อจำหน่ายให้ได้ราคาสูง

อนุกรมวิธาน
• Order : Cypriniformes
• Family : Cyprinidae
• Genus : Cyprinus
• Species: Carpio

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyprinus carpio Linn.
• ชื่อสามัญ :
– Crap
– Colored Crap
– Nishikigoi (ญี่ปุ่น)
– Koi

• ชื่อไทย :
– ปลาคราฟ
– ปลาคาร์ฟ
– ปลาคาร์พ
– ปลาแฟนซีคราฟ
– ปลาไนแฟนซี
– ปลาไนสี
– ปลาไนทรงเครื่อง

ปลาคราฟ

ประวัติปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟในไทย
ปลาคราฟ เป็นปลาน้ำจืดที่จัดอยู่ในกลุ่มปลาตะเพียน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอีหร่าน สำหรับประเทศไทยมีการนำเข้ามาเลี้ยงครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2493 ซึ่งช่วงนั้นยังนิยมเลี้ยงในกลุ่มผู้มีฐานะดีเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ทรงได้สั่งปลาคราฟจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเลี้ยง พร้อมกับเรียกชื่อปลาคราฟอีกชื่อว่า ปลาอมรินทร์ แต่ชื่อสามัญที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษ คือ Crap อ่านไทยว่า คราฟ หรือ คาร์ฟ ซึ่งนิยมเรียกต่อมาตามสากล และเรียกมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนประเทศญี่ปุ่นเรียกปลาคราฟว่า Nishikigoi ที่มาจากคำว่า Nishiki ที่หมายถึง ผ้าไหมทอจากอิเดียที่มีสีสันสวยงาม มีหลากสี และมีราคาแพง ชาวญี่ปุ่นจึ้งตั้งชื่อตามลักษณะของผ้าที่คล้ายกับสีของปลาคราฟที่สวยงาม หายาก และมีราคาแพง

ลักษณะทั่วไปปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
ปลาคราฟ มีลักษณะลำตัวแบน และค่อนข้างกลม หัวไม่มีเกร็ด ริมฝีปากบางเรียบ ภายในปากไม่มีฟัน แต่จะมีฟันที่ลำคอ 1-3 แถว แต่ละแถวมีฟันไม่เกิน 8 ซี่ ลำตัวมีครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง และครีบหาง บางชนิดไม่มีเกล็ด บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดมีเกล็ดขนาดใหญ่ในบางส่วน เช่น ปลาคราฟญี่ปุ่นมีเกล็ดทั้งลำตัว ส่วนปลาคราฟเยอรมันมีเกล็ดขนาดใหญ่เฉพาะแถบบนเส้นข้างลำตัว

ปลาคราฟ เป็นปลาที่ไม่จัดอยู่กลุ่มปลากินพืชหรือปลากินเนื้อ เพราะโดยธรรมชาติจะกินพืชหรือสาหร่ายที่มีตัวอ่อนสัตว์น้ำเข้าไปด้วย รวมถึงสามารถกินได้ทั้งแพลงตอนพืช และสัตว์ และหอยได้ด้วย

อาหาร และการหาอาหาร
ปลาคราฟ เป็นปลาที่กินทั้งพืช และสัตว์ ในการเลี้ยงอาจให้ขนมปัง ข้าวสุก ลูกปลา หรือกุ้งขนาดเล็กก็ได้ รวมถึงอาหารปลาดุกก็เป็นอาหารที่ปลาคราฟชอบเช่นกัน นิสัยการหาอาหารของปลาคราฟ มักออกหาอาหารทั้งในระดับผิวน้ำ กลางน้ำ และท้องน้ำ มักใช้ปากคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามริมขอบฝั่งหรือหน้าดินตามขอบฝั่ง เป็นปลาที่ไม่ชอบอุณหภูมิร้อนหรือเย็นมากเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเติบโตที่ 20-22 องศาเซียลเซียส สภาพน้ำสะอาด น้ำมีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเพียงเล็กน้อย ระหว่าง 7.0-7.5 หากน้ำเป็นกรดจะทำให้สีของปลาคราฟซีด ไม่สดใส

พันธุ์ปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
พันธุ์ปลาคราฟ ที่เลี้ยงกันมากในเมืองไทย ได้รับการนำเข้ามาเลี้ยงจากประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยอดีต จนถึงปัจจุบันก็ยังนิยมเลี้ยงกันมาก ดังนั้น พันธุ์ปลาคราฟส่วนใหญ่จึงเป็นพันธุ์ที่ได้รับการตั้งชื่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่
1. โคฮากุ (Kohoku)
2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke)
3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku)
4. อุจิริ โมโน (Utsuri Mono)
5. เบคโกะ (Bekko)
6. อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui)
7. โกโรโมะ (Koromo)
8. โอกอน (Ogon)
9. ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo)
10.ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri)
11. คินกินริน (Kinginrin)
12. ตันโจ (Tancho)
13. คาวาริ โมโน (Kawari Mono)

ลักษณะปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ ที่ดี
ปลาคราฟที่ดี และเป็นที่ต้องการของตลาดจะต้องมีลักษณะของหัวที่สมบูรณ์ ลำตัวไม่สั้นเกินไป ลำตัวต้องกลมเป็นรูปกระสวย ลักษณะครีบสวยงาม ไม่มีส่วนฉีกขาด ส่วนหางใหญ่ และแข็งแรง มีท่วงท่าการว่ายน้ำสวยงาม และที่สำคัญอีกประการ คือ จะต้องมีสีสันเข้ม สวยงาม มีความคมชัด สดใส และมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ หายาก ทั้งนี้ ปลาคราฟที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์หรือเป็นโรคจะมีลักษณะเชื่องซึม มีสีซีดจาง ปลาประเภทนี้ไม่ควรนำมาเลี้ยง และควรกำจัดออกจากบ่อทันที

สีของปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
สีของปลาคราฟ เป็นสารสีที่มาจากสารแคโรทีนอยด์ ซึ่งปลาคาร์ฟไม่สามารถสังเคราะห์สารเหล่านี้ได้เอง แต่สารแคโรทีนอยด์ที่ทำให้เกิดสีในตัวปลาคราฟจะมาจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน ซึ่งสีจากสารแคโรทีนอยด์จะให้สีเหลือง ส้ม และแดง โดยสีแดงในปลาคราฟเกิดจากสารแคโรทีนอยด์ชนิด astaxanthin ซึ่งปลาคราฟสามารถสะสม และเปลี่ยนสารสีเหล่านี้ให้อยู่ในร่างกายได้

ปลาคราฟ1

การศึกษาระดับแคโรทีนอยด์ที่มีต่อความเข้มสีของปลาคราฟด้วยการให้อาหาร 6 ชนิด ที่มีปริมาณแคโรทีนอยด์ใน 6 ความเข้มข้น ตั้งแต่ 4.09-103.9 ไมโครกรัม/กรัม ตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ปลาคาร์ฟที่ได้รับแคโรทีนอยด์ที่ระดับ 96.2 และ103.9 ไมโครกรัม/กรัม มีความเข้มของสีแดงเพิ่มสูงขึ้น แต่หากหยุดให้อาหารแก่ปลาคราฟนาน 4 สัปดาห์ กลับพบว่า กลุ่มปลาคราฟที่มีความเข้มสีเพิ่มขึ้นจากการได้รับอาหารในระดับ 96.2 และ103.9 ไมโครกรัม/กรัม ยังคงรักษาระดับความเข้มของสีแดงได้เหมือนเดิมได้ ดังนั้น ปริมาณแคโรทีนอยด์ในอาหารที่เหมาะสมเพื่อให้สีของปลาคราฟเข้มขึ้น และความเข้มสีคงที่ ควรมีปริมาณแคโรทีนอยด์อย่างน้อย 96.2 ไมโครกรัม/กรัม (อรพินท์ และคณะ, 2548)(1)

ดังนั้น การเลี้ยงปลาคราฟเพื่อให้มีความเข้มสีที่สวยงาม ต้องควรคำนึงถึงความเข้มข้นของแคโรทีนอยด์ในอาหาร

นอกเหนือจากการให้แคโรทีนอยด์ในอาหารเพื่อเพิ่มสีสันให้แก่ปลาแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่ทำได้ คือ การเติมสารสกัดที่มีแคโรทีนอยด์ลงในน้ำตู้ปลาหรือในบ่อเลี้ยง ซึ่งสารสกัดที่มีแคโรทีนอยด์สูงสามารถหาได้จากพืชที่มีสีเหลืองหรือสีแดง อาทิ ใบหูกวาง เป็นต้น

การอนุบาลปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
1. ลูกปลาคราฟหลังฟักออกจากไข่จนถึง 2 อาทิตย์ จะให้อาหารประเภทไข่บด ร่วมกับไรแดง ซึ่งจะให้ประมาณวันที่ 3-5 หลังฟักเป็นตัวแล้ว
2. ลูกปลาคราฟ 15-30 วัน เปลี่ยนมาให้ไรแดง ร่วมกับปลาบดผสมกับรำละเอียด
3. ลูกปลาคราฟ 30-60 วัน เปลี่ยนมาให้ปลาบดผสมกับรำละเอียด และอาหารสำเร็จรูปเสริม
4. ลูกปลาคราฟ อายุประมาณ 2-3 เดือน ที่มีสีเหลืองทั้งตัว ให้เลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสม ดังนี้
– ปลาป่น 20%
– กากถั่วเหลือง 30%
– รำละเอียด 35%
– ปลายข้าว 15%

นอกจากนั้น สามารถให้อาหารสำเร็จรูปได้ ทั้งอาหารปลาดุก และอาหารปลานิลหรือปลาทับทิม

การเลี้ยงปลาคราฟ/ปลาคาร์ฟ
การเลี้ยงปลาคราฟที่พบเห็นนิยมมากในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การเลี้ยงในตู้ปลา
การเลี้ยงปลาคราฟในตู้ปลามักไม่นิยมนัก เพราะปลาคราฟเป็นปลาสวยงามขนาดใหญ่ และชอบว่ายน้ำคุ้ยเขี่ยหาอาหารเก่ง แต่หากเลี้ยง ควรเลี้ยงไม่เกิน 2 ตัว และเพิ่มจำนวนตามขนาดของตู้ปลา ส่วนน้ำที่ใช้เลี้ยง อาจเป็นน้ำประปาหรือน้ำฝนก็ได้ แต่หากเป็นน้ำฝนในชุมชนเมืองควรหลีกเลี่ยง เพราะน้ำฝนมักเป็นกรดมาก

สำหรับตู้ปลาควรมีเครื่องเติมอากาศตลอดเวลา รวมถึงเครื่องกรองน้ำด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ตู้ปลาอาจตกแต่งด้วยกรวดหิน และสาหร่ายขนาดเล็ก แต่ไม่ควรเป็นสาหร่ายขนาดใหญ่ เพราะมักเสียหายจาการว่ายหรือการกัดกินของปลาคราฟได้ง่าย

2. การเลี้ยงในบ่อจัดสวน
การเลี้ยงในบ่อจัดสวน หรือ บ่อดาดคอนกรีต ถือเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาคราฟที่นิยมมาก เพราะสามารถปล่อยปลาคราฟได้จำนวนมาก ปลาคราฟมีพื้นที่ว่ายน้ำได้กว้าง ไม่ต้องใช้เครื่องเติมอากาศ และสามารถรองรับขนาดปลาคราฟที่เติบโตจนมีขนาดใหญ่ในอนาคตได้

บ่อเลี้ยงปลาคราฟอาจเป็นขอบดิ่งหรือขอบลาดเอียง ขนาดบ่อควรลึกในช่วง 40-70 เซนติเมตร เพราะตื้นมากจะทำให้น้ำร้อนจากแดดส่อง หากลึกมากจะทำให้มองไม่เห็นตัวปลา และน้ำด้านล่างเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว แต่อาจทำบางจุดให้ลึกได้ โดยเฉพาะจุดรวมน้ำเพื่อทำการเปลี่ยนน้ำหรือถ่ายเทน้ำ นอกจากนั้น พื้นบ่อปลาหรือขอบบ่อปลาควรเติมกรวดทรายลงเล็กน้อย เพื่อให้ปลาคราฟคุ้ยเขี่ยอาหารตามสภาพธรรมชาติ ทั้งนี้ จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 1 เดือน หรือ 2 เดือน/ครั้ง

การตกแต่งบ่อเลี้ยง ควรใช้หินกองเป็นถ้ำเพื่อให้มีร่มเงาในน้ำ หรืออาจปลูกไม้น้ำในกระถางลงในบ่อก็ได้ แต่ไม่ควรมีต้นไม้ใหญ่คลุมบ่อข้างบ่อ เพราะจะมีใบไม้ร่วงลงบ่อทำให้คุณภาพน้ำแย่ลงได้ รวมถึงระบบน้ำพรุ ระบบหมุนเวียนน้ำ หรือระบบกรองน้ำร่วมด้วยยิ่งดี นอกจากนั้น อาจออกแบบบ่อให้มีทางข้ามเพื่อเดินชม และเป็นที่บังแดดให้แก่ปลาได้

ทั้งนี้ ปลาคราฟรุ่นที่ใช้เลี้ยงควรมีอายุตั้งแต่ 6-8 เดือน ขึ้นไป หรือขนาดลำตัวยาวมากกว่า 15 เซนติเมตร ขึ้นไป


การให้อาหาร
อาหารปลาคราฟรุ่นที่เลี้ยงตามบ่อหรือตู้ปลา ปัจจุบัน นิยมใช้อาหารสำเร็จรูปประเภทลอยน้ำ ซึ่งใช้ได้ทั้งอาหารปลากินเนื้

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.pasusat.com/ปลาคราฟ/
ปลาสลิด และการเลี้ยงปลาสลิด


  
ปลาสลิด (Snake Skin Gounrami) เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่นิยมรับประทานสด แต่นิยมนำมาทำเค็มและตากแห้งสำหรับนำมาทอด ปิ้งย่าง และยำรับประทานเป็นหลัก นอกจากนั้น มีแหล่งเลี้ยงที่สำคัญในหลายจังหวัด เช่น สุพรรณบุรี สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา

อนุกรมวิธาน
Order : Labyrinthici
Family : Anabantidae
Genus : Trichogaster Bloch
Species : pectoralis (Regan)

เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาหมอ ปลากด ปลากัด ปลาแรด และปลากระดี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichogaster pectoralis Regan
ชื่อพ้อง (synonym) : Osphronemus nobilis Gerini
ชื่อไทย : ปลาสลิด (Pla Salid), ปลาใบไม้ (Pla Baimai)
ชื่ออังกฤษ : Sanke skinned gourami, Damsel fish, Small gourami, Boubel nest builder
ชื่ออินโดนีเซีย : Sepat Siam, Sepat Siem, Siem.
ชื่อมาเลเซีย : Sepat Siam
ชื่อเวียดนาม : Ca sat rang
ชื่อพม่า : Trey Kanthor

ลักษณะทั่วไปของปลาสลิด
ปลาสลิดมีลำตัวคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวมีลักษณะแบน มีส่วนหัว และหางเรียว และส่วนกลางลำตัวกว้าง ลำตัวมีสีเขียวอมเทา หรือมีสีคล้ำเป็นพื้น และมีสีเขียวเข้มทางด้ายซ้าย และมีแถบสีดำพาดขวางตามแนวยาวจากหัวถึงโคนหาง ข้างละ 1 แถบ และมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดเฉียงบริเวณลำตัว และมีเกล็ดเหนือเส้นข้างตัว 42-47 เกล็ด ส่วนปากขนาดเล็ก แต่ยืดหดได้ ส่วนครีบอกมีขนาดใหญ่ และยาว ส่วนหัวมีก้านครีบแข็ง 7 อัน และก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ปลาสลิดซึ่งมีขนาดใหญ่เต็มที่จะมีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร แต่ทั่วไปจะพบขนาดความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร

ปลาสลิดมีอวัยวะพิเศษที่ใช้ช่วยในการหายใจ เรียกว่า ลาบิริงค์ ออร์แกน (Labyrinth organ)มีลักษณะคล้ายดอกไม้บาน เป็นกลีบเรียงซ้อนกันอยู่เหนือเหงือก ทำให้สูดออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรงจึงสามารถอยู่บนบกได้นาน

การแยกเพศ
ปลาสลิดเพศผู้จะมีลำตัวเรียวยาวมากกว่าปลาสลิดเพศเมีย มีแนวสันหลัง และสันท้องในแนวเกือบขนานกัน มีครีบยาวจรดหางหรือยาวมากกว่าโคนหาง ลำตัวมีสีเข้ม และมีสีสันสวยงามมากกว่าตัวเมีย

ส่วนปลาสลิดเพศเมียจะ มีลำตัวป้อมสั้น สันหลังไม่ขนานกัน เพราะมีสันท้องยาวกว่า มีครีบหลังมน และสั้นกว่าเพศผู้ และครีบไม่ยาวถึงโคนหางเหมือนเพศผู้ นอกจากนั้น ลำตัวจะมีสีจางกว่า และเมื่อถึงฤดูวางไข่ ส่วนท้องจะอูมเป่งใหญ่ขึ้นซึ่งเต็มไปด้วยไข่จำนวนมาก

แหล่งอาศัย และอาหาร
ปลาสลิด เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง เช่น สระน้ำ บ่อน้ำ บึง และนาข้าว ชอบหลบอาศัยตามบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นเพื่อเป็นที่พักอาศัย กําบังตัว และการก่อหวอดวางไข่
ส่วนอาหารของปลาสลิดที่สำคัญ ได้แก่ พืชน้ำ สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ไรน้ำ แพลงค์ตอนพืช/แพลงตอนสัตว์ และสัตว์ขนาดเล็กต่างๆ

การสืบพันธ์ุ และวางไข่
ปลาสลิดสามารถเข้าสู่วัยผสมพันธุ์ และวางไข่ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 7 เดือน ขนาดลำตัวยาวประมาณ 15-17 ซม. น้ำหนักประมาณ 150-400 กรัม ตัวเมียจะมีไข่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และเริ่มเข้าสู่ช่วงวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายน-สิงหาคม โดยแม่ปลา 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 3-4 ครั้ง/ปี แต่ละครั้งจะวางไข่ประมาณ 7,000-8,000 ฟอง แต่เจริญเป็นลูกปลาได้ประมาณ 4,000 ตัว

การวางไข่
ก่อนที่ปลาสลิดตัวเมียจะวางไข่ ปลาตัวผู้จะเลือกสถานที่ และเตรียมที่วางไข่ให้ ซึ่งมักจะเลือกบริเวณที่มีร่มใต้ต้นไม้ โดยการก่อหวอดด้วยการหุบอากาศเข้าผสมกับน้ำเมือกก่อนจะพ่นออกมาเป็นฟองอากาศที่มีลักษณะเป็นฟองน้ำลอยเกาะบริเวณต้นผัก ต้นหญ้าที่ไม่หนาทึบมาก ขนาดกว้างประมาณ 10-15 ซม. นูนจากผิวน้ำประมาณ 2 ซม. ซึ่งมักจะก่อหวอดในช่วงกลางวันจนถึงวันรุ่งขึ้นก็พร้อมผสมพันธุ์ เมื่อเตรียมหวอดเสร็จแล้ว ปลาสลิดตัวผู้จะไล่ต้อนตัวเมียเข้าไปอยู่ใต้หวอด และเข้าใช้หางแนบรัดท้องตัวเมียเพื่อปล่อยไข่ออกมา และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสม ทำอย่างนี้ประมาณ 3 ครั้ง ใช้เวลาการวางไข่ประมาณ 2-3 นาที/ครั้ง จากนั้นปลาเพศผู้จะออไข่เข้าไปเกาะใต้หวอด พร้อมไล่ตัวเมียออกให้ห่างหวอด และคอยดูแลรังจนกว่าลูกปลาจะฟักออก และว่ายน้ำออกหากินเองได้แล้วค่อยออกใช้ชีวิตตามปกติ

การฟักไข่
ไข่ปลาสลิดที่ปล่อยออกมาจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมขนาดเล็ก สีเหลือง ขนาด 0.9-2 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับขนาด ไข่จะฟักเป็นตัวประมาณ 24-48 ชั่วโมง ส่วนไข่ที่ไม่มีการผสมน้ำเชื้อจะมีลักษณะเป็นสีขาว ลูกปลาที่ฟักออกมาใหม่จะยังไม่กินอาหาร เพราะอาศัยอาหารจากถุงอาหารที่ท้อง และจะเริ่มกินอาหารเมื่อถุงอาหารหมดประมาณ 7 วัน หลังจากฟักออก ซึ่งจะสังเกตได้จากลูกปลาลอยขึ้นเหนือน้ำในช่วงเช้า

ลูกปลาสลิดตามธรรมชาติ หากพื้นที่อาศัยมีความอุดมสมบูรณ์ ลูกปลาจะเติบโตประมาณ 7-10 ซม. ในเวลา 3 เดือน และ 10-12 ซม. ในเวลา 6 เดือน และ 16 ซม. ขึ้นไป ในเวลา 10-12 เดือน

ประโยชน์ปลาสลิด
คุณค่าทางโภชนาการ (ปลาสลิดสด 100 กรัม)
– น้ำ 80.9 กรัม
– พลังงาน 76 กิโลแคลอรี่
– โปรตีน 17.2 กรัม
– ไขมัน 0.8 กรัม
– แคลเซียม 70 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 177 มิลลิกรัม
– เหล็ก 2.3 มิลลิกรัม
– ไรโบฟลาวิน 0.2 มิลลิกรัม
– ไนอะซีน 2 มิลลิกรัม

ที่มา : กองโภชนาการ, 2535

การเลี้ยงปลาสลิด
การเพาะพันธุ์ และการอนุบาล
การเพาะพันธุ์ปลาสลิด
การผสมพันธุ์ปลาสลิดจะใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีเมื่ออายุมากกว่า 7 เดือน ขึ้นไป-10 เดือน และมีขนาดตั้งแต่ 10 ซม. ขึ้นไป ซึ่งตามธรรมชาติปลาสลิดจะเริ่มทำการผสมพันธุ์ตั้งแต่เดือนเมษายน-สิงหาคม และอาจใช้ฮอร์โมนกระตุ้นให้ออกไข่ในทุกฤดู

การเพาะพันธุ์ปลาสลิด สามารถเพาะได้โดยใช้บ่อซีเมนต์สำเร็จรูปหรือก่ออิฐสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 50 ซม. สร้างหรือวางใต้โรงเรือนหรือทำเพิงคลุมด้านบนบ่อเพื่อบังแดดและหาผักบุ้งหรือพืชน้ำใส่ในบ่อ

อัตราการปล่อยพ่อแม่ปลาที่ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว ต่อพื้นที่ 1-2 ตารางเมตร หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาประมาณ 5-6 วัน จะสังเกตเห็นปลาก่อหวอด และวางไข่ จากนั้น ประมาณ 1-2 วัน ให้ช้อนพ่อแม่ปลาออก

การอนุบาล
การเลี้ยงอนุบาลลูกปลาจะใช้การให้ไข่ผงหรือไรน้ำในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากฟักออกจากไข่ประมาณ 5-7 วัน เพราะช่วงแรกลูกปลาจะยังไม่กินอาหาร ต่อมาจึงให้รำผงละเอียดต่อ นอกจากนั้น อาจหว่านโรยด้วยปุ๋ยคอก และยูเรียร่วมด้วย รวมถึงเสริมด้วยพืชน้ำต่างๆ ไรแดง ปลวก และซากพืชผักเน่า และดูแลจนกว่าลูกปลามีขนาดยาว 2 เซนติเมตร จึงค่อยนำปล่อยลงในบ่อเลี้ยงต่อไป ทั้งนี้ ในช่วงอนุบาลลูกปลา ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมออย่างน้อย 1 ครั้ง/อาทิตย์

นอกจากนั้น บางพื้นที่ยังนิยมเพาะพันธุ์ปลาสลิดโดยใช้บ่อดินขนาดเล็กก่อน ซึ่งจะช่วยขยายพันธุ์ได้ครั้งละมากๆ

การเลี้ยงในบ่อดิน
การเตรียมบ่อดิน
บ่อดินที่เกษตรกรใช้เลี้ยงปลาสลิดเพื่ออาชีพ ควรมีขนาดตั้งแต่ 1 ไร่ ขึ้นไป บ่อดินใหม่ควรขุดให้ลึกประมาณ 60-75 ซม. ไม่ควรให้ลึกมากกว่านี้ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก เพราะหากลึกมากจะทำให้น้ำเปรี้ยวมาก หลังจากนั้นให้ใส่ปูนขาว รใส่ปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่

ส่วนบ่อเก่าให้เตรียมบ่อหลังการจับปลาสลิดแล้ว โดยทำการขุดลอกหน้าดิน 2 ปี/ครั้ง และดูดน้ำออกให้หมด พร้อมโรยด้วยปูนขาวทุกครั้ง อัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ และตากก้นบ่อนาน 10-20 วัน

หลังการเตรียมบ่อในขั้นแรกเสร็จแล้ว ให้หว่านโรยด้วยปุ๋ยคอกหรือมูลไ่ก่ อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ รำละเอียด 15-20 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นน้ำเข้าบ่อสูง 10-20 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ก็จะเกิดแพลงก์ตอนพืชสำหรับเป็นอาหารปลาสลิด แล้วค่อยปล่อยน้ำเข้าบ่อให้มีความสูงตามระดับที่เหมาะสม

การปล่อย และการดูแล

เมื่อลูกปลาสลิดมีความยาวตั้งแต่ 2-3 ซม. ให้จับมาปล่อยในบ่อดิน อัตราการปล่อยที่ 1 ตารางเมตร/ปลาสลิด 5-10 ตัว หรือประมาณ 8,000-16,000 ตัว/ไร่

หลังการปล่อยให้นำผักบุ้ง ผักกะเฉด หรือพืชน้ำอื่นๆ มาปล่อยในบ่อ แต่ไม่แนะนำผักตบชะวา และจอก หรือพืชน้ำอื่นที่เป็นพืชรุกราน

อาหารของปลาสลิดที่เลี้ยงในบ่อดินจะได้จากธรรมชาติที่เป็นแพลงก์ตอน สาหร่าย และพืชน้ำเป็นหลัก แต่ควรให้อาหารเสริมเป็นระยะ เช่น การใช้รำ และปลายข้าว อย่างละ 1 ส่วน ผสมกับผักบุ้งหั่นหรือผักอื่นๆ 2 ส่วน หว่านให้ 2 ครั้ง/สัปดาห์

โรค และศัตรู
ปลาสลิด เป็นปลาที่ไม่ค่อยพบเป็นโรคมากนัก แต่อาจพบการตายจากสาเหตุออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอเป็นสำคัญ ที่สังเกตได้จากการที่ปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ มักพบในแหล่งน้ำธรรมชาติที่เน่าเสีย หรือหากเป็นบ่อเลี้ยงก็จะเกิดการการเน่าเสียของอาหารในน้ำหรือการเลี้ยงในปริมาณมากเิกินไป ทั้งนี้ สามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ และปล่อยพันธุ์ปลาในอัตราที่เหมาะสม นอกจากนั้น อาจพบเห็บปลาที่มีลักษณะตัวแบน สีน้ำตาลใสเกาะติดตามลำตัว ทำให้ปลาผอม และเจริญเติบโตช้า ซึ่งแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำปล่อยๆ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปลาแรดเผือก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osphronemus goramy 
ชื่อสามัญ : Giant Gourami Albino
ชื่อท้องถิ่น : ปลาแรดเผือก

เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด

ลักษณะ
              ลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป รวมทั้งอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น ริมฝีปาก หรือขากรรไกรที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ขณะที่ปลาตัวเมียจะมีจุดสีดำที่บริเวณโคนครีบอกทั้ง 2 ข้าง ส่วนตัวผู้ไม่มี

อาหาร
เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ แต่นิยมกินพืชมากกว่า มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ในประเทศไทยพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและบางส่วนของภาคใต้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร จึงนับว่าเป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ Osphronemidae แต่ว่าขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร

ที่อยู่
เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย โดยนิยมเพาะเลี้ยงกันในหลายพื้นที่ เช่น นิยมเลี้ยงกันที่แม่น้ำสะแกกรัง ในจังหวัดอุทัยธานี ที่มีเลี้ยงกันในกระชังในแม่น้ำจนเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

นอกจากนี้แล้ว ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยในปลาธรรมดาจะเรียกกันว่า "แรดดำ" และในปลาที่มีผิวเผือกจะเรียกว่า "แรดเผือก" หรือ "แรดเผือกตาแดง" นอกจากนี้แล้วยังมีปลาที่สีแตกต่างออกไปด้วย จากการเพาะขยายพันธุ์โดยมนุษย์

ภาวะผิวเผือก (อังกฤษ: Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentation ชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา

ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับความเด่น ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที่